วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล4

พุทธศักราช 2522
จากโรงเรียนเป็นภาควิชา
นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว
หัวหน้าภาควิชาคนแรก
พ.ศ.2522-2530
  ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ  ทองเจริญ  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์  ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล  วีรานุวัตติ์  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของคณะเทคนิคการแพทย์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับโรงเรียนรังสีเทคนิคคือ ได้แยกโรงเรียนรังสีเทคนิคออกจากสำนักงานเลขานุการ และจัดตั้งขึ้นเป็นภาควิชารังสีเทคนิค (ราชกิจจานุเบกษา พิเศษ หน้า ๔ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๔๑ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๒)


หัวหน้าภาควิชาคนแรก
  หลังจากโรงเรียนรังสีเทคนิคเปลี่ยนมาเป็นภาควิชารังสีเทคนิค ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรังสีเทคนิค ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคตั้งแต่นั้นมา จนท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.. 2530
งานเกษียณอายุราชการของอาจารย์สุพจน์ อ่างแก้ว
ที่หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช 


พุทธศักราช 2525
ตึกใหม่
  ตึกคณะเทคนิคการแพทย์หลังใหม่ ได้งบประมาณการก่อสร้างในปี พ.. 2520  ได้สร้างเสร็จเรียบร้อย  เป็นอาคาร 11 ชั้น ภาควิชารังสีเทคนิคได้ที่ทำการถาวรอยู่ที่ชั้น 1 และชั้น 10 ของตัวอาคาร
  อาคารชั้นที่ 1 มีห้องเอกซเรย์อยู่ 1 ห้องใหญ่ กั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  แต่ละส่วนติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ได้ 1 เครื่อง  ส่วนแรกนั้นเป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อเมื่อปี พ.. 2520  ได้รับการขนย้ายจากตึกตรวจผู้ป่วยนอกเก่า ชั้นมาที่ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ใหม่พร้อมทั้งดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จและใช้งานได้ด้วยความสามารถและน้ำพักน้ำแรงของคณาจารย์ในภาควิชารังสีเทคนิคเองทั้งสิ้น  อีกส่วนหนึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องเอกซเรย์เก่าที่ได้รับบริจาคจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ ภายในโรงพยาบาลศิริราช
ชั้น 1 และชั้น 10 เป็นที่ตั้งภาควิชารังสีเทคนิค
  นอกจากนี้ยังมีห้องมืดขนาดมาตรฐานอีก 1 ห้อง  อยู่ติดกับห้องเอกซเรย์  ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ห้องโคบอลต์ที่มีเครื่องกำเนิดรังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60
  ส่วนชั้นที่ 10  เป็นที่ตั้งของแผนกธุรการของภาควิชาฯ  ห้องทำงานของอาจารย์ ห้องประชุมภาคฯ  ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิค ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์  และห้องบรรยายห้อง
บุคลากรของภาควิชาจำนวนหนึ่งในตอนนั้น


ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล5 >>>
<<< ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล3

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล3

พุทธศักราช 2513
ยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญา
  
ทางคณะเทคนิคการแพทย์ยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญาทั้งหมด คงมีแต่ปริญญาตรีเท่านั้น
  และในปีนี้เอง  โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับความเอื้อเฟื้อจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล ให้ใช้สถานที่ของตึก 72 ปี ชั้น 6 บางส่วนเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนคือ มีห้องเรียน ห้องทำงานของอาจารย์และฝ่ายธุรการ ทำให้ดูเป็นสัดเป็นส่วนขึ้น


พุทธศักราช 2514
รังสีเทคนิค 2 ปี
  โรงเรียนรังสีเทคนิคเปิดหลักสูตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อปี พ.. 2511 สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ปรึกษาและเห็นว่าคณะเทคนิคการแพทย์มีความสามารถพอที่จะอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์จัตวาเพิ่มขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ  และเพื่อสนองความต้องการของรัฐที่ต้องการให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคทุกแห่งมีพนักงานวิทยาศาสตร์ทั้งในห้องปฏิบัติการชันสูตรและห้องเอกซเรย์ของโรงพยาบาล  ดังนั้นโรงเรียนรังสีเทคนิคก็เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย  ผู้ที่เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรนี้  ส่วนหนึ่งได้รับการคัดเลือกโดยกรมการแพทย์จากผู้สำเร็จชั้น ม.. 5 (.6 ปัจจุบันของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนพนักงานวิทยาศาสตร์  ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามสัญญาที่ได้ทำผูกพันไว้กับเจ้าสังกัดเดิม  อีกส่วนหนึ่งรับคัดเลือกจากบุคคลภายนอกเพื่อผลิตให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง  และก็เช่นเดียวกันนักศึกษาประเภทนี้เมื่อสำเร็จแล้วต้องเข้ารับราชการตามความต้องการของมหาวิทยาลัยมหิดล  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษา  หลักสูตรนี้ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี  จำนวนนักศึกษาที่รับปีละ 20 คน  อย่างไรก็ตามโรงเรียนรังสีเทคนิคผลิตพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ได้เพียง 3 รุ่น คือ ระหว่างปีพ.. 2516-2518 ก็ล้มเลิกโครงการ  รวมพนักงานวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 56 คน

พุทธศักราช 2519
ไฟไหม้ตึก
  เป็นปีที่ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ประสบอัคคีภัยเสียหายเกือบทั้งหลังประจวบกับสถานที่ตั้งของโรงเรียนรังสีเทคนิคที่ตึก 72 ปี ชั้นจะมีการขยับขยายเป็นหอพักผู้ป่วยทางรังสีรักษา  โรงเรียนฯ จึงได้ย้ายมารวมอยู่กับห้องปฏิบัติการกลางของภาควิชาเคมีคลินิค คณะเทคนิคฯ  ที่ตึกตรวจผู้ป่วยนอกเก่า ชั้น 3 ของโรงพยาบาลศิริราช

พุทธศักราช 2520
เครื่องเอกซเรย์เครื่องแรก
  โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สำคัญมากรายการหนึ่งคือ เครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย 1 เครื่อง  เป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท  นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพในด้านการเรียนการสอน รวมถึงการขยายขีดความสามารถในด้านการวิจัยของอาจารย์และงานด้านบริการของโรงเรียนให้เพิ่มมากกว่าแต่เดิมหลายเท่า

ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล2

พุทธศักราช 2510
บัณฑิตรังสีเทคนิครุ่นแรกของประเทศไทย


บัณฑิตรังสีเทคนิคมหิดล รุ่นที่ 1 จำนวน 11 คน นับเป็นบัณฑิตรังสีเทคนิครุ่นแรกของไทย

  โรงเรียนรังสีเทคนิคสามารถผลิตบัณฑิตปริญญาตรีรังสีเทคนิครุ่นแรกได้จำนวน 11 คน  และอนุปริญญารังสีเทคนิคอีก 2 คน(เนื่องจากในขณะนั้นผู้ที่สอบได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ถึง 70% ในชั้นปีที่ 3 จะไม่มีสิทธิ์เรียนต่อชั้นปีที่ต้องไปทำงานอีก 1 ปีจึงมาเรียนต่อได้หรือมิฉะนั้นก็ได้รับอนุปริญญาชื่อปริญญาที่ได้รับคือวิทยาศาสตรบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ (รังสีเทคนิค)” ชื่อย่อคือวท..เทคนิคการแพทย์ (รังสีเทคนิค)”  ชื่อภาษาอังกฤษใช้ “Bachelor of Science in Radiological Technology”  ตัวย่อ “B.Sc. (Radiological Technology)” ซึ่งต่อมาในปี พ.. 2525  ได้เปลี่ยนเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต (รังสีเทคนิค)” ตัวย่อวท..(รังสีเทคนิค)” และภาษาอังกฤษใช้ว่า “Bachelor of Science (Radiological Technology)”  ตัวย่อ “B.Sc. (Radiol. Tech.)” เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น  อีกทั้งในปี พ.. 2510 นี้  เป็นปีแรกที่สาขาวิชารังสีเทคนิค ได้รับการบรรจุเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ผู้จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สามารถเลือกสอบเข้าได้เลย  โดยไม่ต้องผ่านการสอบเข้าสาขาเทคนิคการแพทย์และเลือกเรียนสาขาวิชารังสีเทคนิคในชั้นปีที่ 3 อย่างแต่ก่อน

อาจารย์สุพจน์ อ่างแก้ว ขณะสอนนักศึกษารังสีเทคนิครุ่นแรกๆ


ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล1

พุทธศักราช 2441
     พระยาบำบัดสรรพโรค  นายแพทย์ใหญ่กองลหุโทษได้สั่งเครื่องเอกซเรย์เครื่องแรกเข้ามาในประเทศไทย  ในครั้งกระนั้นผู้ช่วยแพทย์ในการทำงานด้านเอกซเรย์ก็ได้อาศัยพยาบาลเป็นส่วนใหญ่โดยมีแพทย์เป็นผู้ฝึกหัดให้  ซึ่งก็ทำกันไปได้เนื่องจากงานยังมีไม่มากนัก  ต่อมาการใช้เครื่องเอกซเรย์เริ่มแพร่หลายและเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อการวินิจฉัยและรักษาโรคมากขึ้น  เครื่องมือสำหรับใช้งานทั้งทางด้านรังสีวินิจฉัย  รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์  ถูกทยอยสั่งเข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ

พุทธศักราช 2505
การสำรวจของ WHO
  

อาจารย์นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว
   องค์การอนามัยโลกได้ส่ง Mr.D.R.E. Ernborg  ผู้ชำนาญทางเอกซเรย์เข้ามาสำรวจในประเทศไทย  ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม พ.. 2505  ถึงวันที่ 4 กันยายน พ.. 2506  พบว่าในขณะนั้นประเทศไทยมีเครื่องเอกซเรย์ใช้มากกว่า 500 เครื่อง  แต่ยังไม่มีบุคลากรที่ได้รับการอบรมเฉพาะด้านรังสีเอกซ์เลย  จึงได้รายงานไว้ในรายงาน  WHO SEA/RAD/11 ว่า ควรจะได้มีการจัดตั้งโรงเรียนอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์ในสาขารังสีเอกซ์ขึ้น  ซึ่งองค์การอนามัยโลกก็ได้เสนอรายงานนี้ให้กับรัฐบาลไทย  รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ดำเนินการ  โดยผ่านทางกระทรวงสาธารณสุข  ศาสตราจารย์นายแพทย์ อำนวย  เสมรสุต  หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลในขณะนั้นได้ปรึกษากับศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล  วีรานุวัตติ์   คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์เห็นพ้องว่า  ควรทำเป็นโครงการร่วมระหว่างภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะเทคนิคการแพทย์เพื่อจัดตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิคขึ้น  โดยจัดให้มีการเรียนการสอนที่คณะเทคนิคการแพทย์   ส่วนสถานที่ฝึกปฏิบัติงานให้ดำเนินการในภาควิชารังสีวิทยา  จากนั้นจึงได้เสนอเรื่องไปทางมหาวิทยาลัย  และสภาการศึกษาแห่งชาติ  (ปัจจุบันคือคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตามลำดับและได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้  ทางภาควิชารังสีวิทยาได้แต่งตั้งให้นายแพทย์สุพจน์   อ่างแก้ว  เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้  พร้อมกันนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกในโครงการ  Thailand project  71  โดยให้ทุนนายแพทย์สุพจน์  อ่างแก้ว  ไปดูงานด้านการจัดตั้งโรงเรียนในประเทศอังกฤษ

พุทธศักราช 2508
ตั้งโรงเรียนรังสีเทคนิค

     โรงเรียนรังสีเทคนิค  เริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม โดยขึ้นกับสำนักงานเลขานุการคณะเทคนิคการแพทย์  ซึ่งนับได้ว่าเป็นโรงเรียนรังสีเทคนิคแห่งแรกในประเทศไทย  ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนองค์การอนามัยโลกได้ส่ง  Mr Gordon W. Ward  ผู้เชี่ยวชาญทาง Radiography  มาเป็นที่ปรึกษา  พร้อมทั้งส่งอุปกรณ์ในการสอนมาให้จำนวนหนึ่ง  นักเรียนรุ่นแรกๆ มาจากนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ซึ่งเรียนจบชั้นปีที่ 2 จากคณะวิทยาศาสตร์  และสมัครใจมาเรียนต่อชั้นปีที่ 3 และปีที่ในสาขารังสีเทคนิค  สถานที่เรียนในตอนนั้นกระจัดกระจายอยู่ตามตึกต่างๆ ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังไม่มีสถานที่เรียนถาวรเช่นปัจจุบัน  โดยมีอาจารย์ประจำก็คือ  อาจารย์นายแพทย์สุพจน์  อ่างแก้ว  และอาจารย์มาลี  แปลกลำยอง  ส่วนอาจารย์พิเศษก็ได้คณาจารย์จากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาช่วยสอนหลายท่านด้วยกัน  โดยหลักสูตรที่ใช้สอนนั้นเป็นหลักสูตรซึ่งได้ดัดแปลงมาจากหลักสูตรของประเทศอังกฤษ

ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล2>>>