วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล4

พุทธศักราช 2522
จากโรงเรียนเป็นภาควิชา
นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว
หัวหน้าภาควิชาคนแรก
พ.ศ.2522-2530
  ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ  ทองเจริญ  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์  ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากศาสตราจารย์นายแพทย์วีกูล  วีรานุวัตติ์  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของคณะเทคนิคการแพทย์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับโรงเรียนรังสีเทคนิคคือ ได้แยกโรงเรียนรังสีเทคนิคออกจากสำนักงานเลขานุการ และจัดตั้งขึ้นเป็นภาควิชารังสีเทคนิค (ราชกิจจานุเบกษา พิเศษ หน้า ๔ เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๔๑ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๒)


หัวหน้าภาควิชาคนแรก
  หลังจากโรงเรียนรังสีเทคนิคเปลี่ยนมาเป็นภาควิชารังสีเทคนิค ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์ อ่างแก้ว ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรังสีเทคนิค ก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคตั้งแต่นั้นมา จนท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.. 2530
งานเกษียณอายุราชการของอาจารย์สุพจน์ อ่างแก้ว
ที่หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช 


พุทธศักราช 2525
ตึกใหม่
  ตึกคณะเทคนิคการแพทย์หลังใหม่ ได้งบประมาณการก่อสร้างในปี พ.. 2520  ได้สร้างเสร็จเรียบร้อย  เป็นอาคาร 11 ชั้น ภาควิชารังสีเทคนิคได้ที่ทำการถาวรอยู่ที่ชั้น 1 และชั้น 10 ของตัวอาคาร
  อาคารชั้นที่ 1 มีห้องเอกซเรย์อยู่ 1 ห้องใหญ่ กั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  แต่ละส่วนติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ได้ 1 เครื่อง  ส่วนแรกนั้นเป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ได้รับงบประมาณจัดซื้อเมื่อปี พ.. 2520  ได้รับการขนย้ายจากตึกตรวจผู้ป่วยนอกเก่า ชั้นมาที่ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ใหม่พร้อมทั้งดำเนินการติดตั้งจนแล้วเสร็จและใช้งานได้ด้วยความสามารถและน้ำพักน้ำแรงของคณาจารย์ในภาควิชารังสีเทคนิคเองทั้งสิ้น  อีกส่วนหนึ่งมีอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องเอกซเรย์เก่าที่ได้รับบริจาคจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ ภายในโรงพยาบาลศิริราช
ชั้น 1 และชั้น 10 เป็นที่ตั้งภาควิชารังสีเทคนิค
  นอกจากนี้ยังมีห้องมืดขนาดมาตรฐานอีก 1 ห้อง  อยู่ติดกับห้องเอกซเรย์  ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ห้องโคบอลต์ที่มีเครื่องกำเนิดรังสีแกมมาจากสารกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60
  ส่วนชั้นที่ 10  เป็นที่ตั้งของแผนกธุรการของภาควิชาฯ  ห้องทำงานของอาจารย์ ห้องประชุมภาคฯ  ห้องปฏิบัติการอิเล็กทรอนิค ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์  และห้องบรรยายห้อง
บุคลากรของภาควิชาจำนวนหนึ่งในตอนนั้น


ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล5 >>>
<<< ประวัติรังสีเทคนิคมหิดล3