ยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญา
ทางคณะเทคนิคการแพทย์ยกเลิกหลักสูตรอนุปริญญาทั้งหมด คงมีแต่ปริญญาตรีเท่านั้น และในปีนี้เอง โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับความเอื้อเฟื้อจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ให้ใช้สถานที่ของตึก 72 ปี ชั้น 6 บางส่วนเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนคือ มีห้องเรียน ห้องทำงานของอาจารย์และฝ่ายธุรการ ทำให้ดูเป็นสัดเป็นส่วนขึ้น
พุทธศักราช 2514
รังสีเทคนิค 2 ปี
โรงเรียนรังสีเทคนิคเปิดหลักสูตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อปี พ.ศ. 2511 สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม) ได้ปรึกษาและเห็นว่าคณะเทคนิคการแพทย์มีความสามารถพอที่จะอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์จัตวาเพิ่มขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ และเพื่อสนองความต้องการของรัฐที่ต้องการให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคทุกแห่งมีพนักงานวิทยาศาสตร์ทั้งในห้องปฏิบัติการชันสูตรและห้องเอกซเรย์ของโรงพยาบาล ดังนั้นโรงเรียนรังสีเทคนิคก็เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย ผู้ที่เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรนี้ ส่วนหนึ่งได้รับการคัดเลือกโดยกรมการแพทย์จากผู้สำเร็จชั้น ม.ศ. 5 (ม.6 ปัจจุบัน) ของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนพนักงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามสัญญาที่ได้ทำผูกพันไว้กับเจ้าสังกัดเดิม อีกส่วนหนึ่งรับคัดเลือกจากบุคคลภายนอกเพื่อผลิตให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง และก็เช่นเดียวกันนักศึกษาประเภทนี้เมื่อสำเร็จแล้วต้องเข้ารับราชการตามความต้องการของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษา หลักสูตรนี้ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี จำนวนนักศึกษาที่รับปีละ 20 คน อย่างไรก็ตามโรงเรียนรังสีเทคนิคผลิตพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ได้เพียง 3 รุ่น คือ ระหว่างปีพ.ศ. 2516-2518 ก็ล้มเลิกโครงการ รวมพนักงานวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 56 คน
โรงเรียนรังสีเทคนิคเปิดหลักสูตรพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อปี พ.ศ. 2511 สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม) ได้ปรึกษาและเห็นว่าคณะเทคนิคการแพทย์มีความสามารถพอที่จะอบรมพนักงานวิทยาศาสตร์จัตวาเพิ่มขึ้นได้อีกระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ และเพื่อสนองความต้องการของรัฐที่ต้องการให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาคทุกแห่งมีพนักงานวิทยาศาสตร์ทั้งในห้องปฏิบัติการชันสูตรและห้องเอกซเรย์ของโรงพยาบาล ดังนั้นโรงเรียนรังสีเทคนิคก็เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย ผู้ที่เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรนี้ ส่วนหนึ่งได้รับการคัดเลือกโดยกรมการแพทย์จากผู้สำเร็จชั้น ม.ศ. 5 (ม.6 ปัจจุบัน) ของโรงพยาบาลที่ขาดแคลนพนักงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อสำเร็จแล้วต้องกลับไปปฏิบัติราชการตามสัญญาที่ได้ทำผูกพันไว้กับเจ้าสังกัดเดิม อีกส่วนหนึ่งรับคัดเลือกจากบุคคลภายนอกเพื่อผลิตให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง และก็เช่นเดียวกันนักศึกษาประเภทนี้เมื่อสำเร็จแล้วต้องเข้ารับราชการตามความต้องการของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษา หลักสูตรนี้ใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี จำนวนนักศึกษาที่รับปีละ 20 คน อย่างไรก็ตามโรงเรียนรังสีเทคนิคผลิตพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รังสีเทคนิค) ได้เพียง 3 รุ่น คือ ระหว่างปีพ.ศ. 2516-2518 ก็ล้มเลิกโครงการ รวมพนักงานวิทยาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งหมด 56 คน
พุทธศักราช 2519
ไฟไหม้ตึก
เป็นปีที่ตึกคณะเทคนิคการแพทย์ประสบอัคคีภัยเสียหายเกือบทั้งหลังประจวบกับสถานที่ตั้งของโรงเรียนรังสีเทคนิคที่ตึก 72 ปี ชั้น 6 จะมีการขยับขยายเป็นหอพักผู้ป่วยทางรังสีรักษา โรงเรียนฯ จึงได้ย้ายมารวมอยู่กับห้องปฏิบัติการกลางของภาควิชาเคมีคลินิค คณะเทคนิคฯ ที่ตึกตรวจผู้ป่วยนอกเก่า ชั้น 3 ของโรงพยาบาลศิริราช
พุทธศักราช 2520
เครื่องเอกซเรย์เครื่องแรก
โรงเรียนรังสีเทคนิคได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สำคัญมากรายการหนึ่งคือ เครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย 1 เครื่อง เป็นจำนวนเงิน 600,000 บาท นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยพัฒนาคุณภาพในด้านการเรียนการสอน รวมถึงการขยายขีดความสามารถในด้านการวิจัยของอาจารย์และงานด้านบริการของโรงเรียนให้เพิ่มมากกว่าแต่เดิมหลายเท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น